คำทับศัพท์ภาษาจีนที่ใช้บ่อยในภาษาไทย

วันนี้เราจะมานำเสนอ คำทับศัพท์ภาษาจีนที่ใช้บ่อยในภาษาไทย ซึ่งส่วนใหญ่ภาษาจีนที่ไทยนำมาใช้มักจะเป็นชื่ออาหาร รองลงไปก็เป็นชื่อที่ใช้ในการค้า ชื่อคน ภาษาจีนจัดเป็นภาษาคำโดดเช่นเดียวกับภาษาไทย นั่นคือคำส่วนมากมักเป็นพยางค์เดียว การเรียงลำดับในประโยคมักขึ้นต้นด้วยประธาน ตามด้วยกริยาและกรรม มีลักษณนาม มีเสียงวรรณยุกต์ คำคำเดียวมีหลายความหมาย และมีการใช้คำซ้ำเหมือนกัน ต่างกันแค่วิธีขยายคำหรือข้อความ เพราะว่าภาษาไทยให้คำขยายอยู่หลังคำที่ถูกขยาย แต่ภาษาจีนให้คำขยายอยู่หน้าคำที่ถูกขยาย

สาเหตุที่ภาษาจีนเข้ามาปะปนในภาษาไทยคือ เชื้อสายและการค้าขาย เพราะมีคนจีนเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก มีความผูกพันกันในด้านการแต่งงาน การค้าขาย จึงรับภาษาจีนมาไว้ใช้ในภาษาไทยจำนวนมาก ไทยรับภาษาจีนมาใช้โดยการทับศัพท์ ซึ่งเสียงอาจจะเพี้ยนจากภาษาเดิมไปบ้าง

การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยนั้น มักยืมมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วและภาษาจีนฮกเกี้ยนมากกว่าภาษาจีนสาขาอื่นเนื่องจากชาวจีนแต้จิ๋วและชาวจีนฮกเกี้ยนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อนชาวจีนกลุ่มอื่น คำภาษาจีนที่ยืมมาใช้ในภาษาไทยมีคำที่เกี่ยวข้องกับภาษาและวรรณคดี  ความเชื่อ ศาสนา ประเพณี คำภาษาจีนที่รวบรวมมานี้มีปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ซึ่งคัดเลือกมาเฉพาะคำที่อ้างอิงถึงภาษาจีน โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่มี (จ.) กำกับ บอกที่มาของคำ เช่น กวยจี๊ ยี่ห้อ
2. กลุ่มที่มีข้อความอ้างอิงว่ามาจากจีน เช่น ขงจื๊อ ฮกเกี้ยน

หมวดอาหาร

เรามาดูชื่ออาหารที่มาจากจีนว่ามีอะไรบ้าง คนไทยออกเสียงเรียกอย่างไร ลักษณะของอาหารนั้นเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะว่าอาหารจีนที่คนไทยรู้จักหรือคุ้นเคยกันมีอะไรบ้าง

กวยจั๊บ น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งที่ใช้ทำเส้นก๋วยเตี๋ยว แต่หั่นเป็นชิ้นใหญ่ ๆ ต้มสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ.)

กวยจี๊ น. เมล็ดแตงโมต้มแล้วตากให้แห้ง ใช้ขบเคี้ยว. (จ.).

ก๋วยเตี๋ยว น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นเส้น ๆ ถ้าลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ.)

กุยช่าย น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium tuberosum Roxb. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้ นําเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร พายัพเรียก หอมแป้น. (จ.).

เกาเหลา [–เหฺลา] น. แกงมีลักษณะอย่างแกงจืด. (จ.).

เกี้ยมไฉ่ น. ผักดองเค็มชนิดหนึ่ง. (จ.).

เกี้ยมอี๋ น. ของกินชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า เป็นตัว ๆ คล้ายลอดช่อง. (จ. ว่า เจียมอี๊).

เกี๊ยว น. ของกินชนิดหนึ่งใช้แผ่นแป้งสาลีตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ห่อหมูสับเป็นต้น. (จ.).

จันอับ น. ชื่อขนมหวานอย่างแห้งของจีน มีหลายอย่างรวมกัน เช่น ข้าวพอง ถั่วตัด งาตัด.

จับฉ่าย น. ชื่ออาหารอย่างจีนชนิดหนึ่งที่ใส่ผักหลาย ๆ อย่าง. (ปาก) ของต่าง ๆ ที่ปะปนกันไม่เป็นสํารับ ไม่เป็นชุด. (จ.).

เจ น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี แจ ก็ว่า. (จ. ว่า แจ).

เจี๋ยน น. กับข้าวอย่างหนึ่ง มีปลาทอดแล้วปรุงด้วยเครื่องต่าง ๆ เรียกว่า ปลาเจี๋ยน. (จ. เจี๋ยน ว่า เคลือบนํ้าตาล เชื่อมนํ้าตาล).

โจ๊ก   น. ข้าวต้มชนิดหนึ่งที่ใช้ปลายข้าวต้มจนเละ. (จ.).

เฉาก๊วย น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง สีดํา ทําจากเมือกที่ได้จากการต้มเคี่ยวพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใส่แป้งลงไปผสม กวนให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้เย็น กินกับนํ้าหวานหรือใส่นํ้าตาลทรายแดง. (จ.).

ซาลาเปา น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งของจีน ทําด้วยแป้งสาลีปั้นเป็นลูกกลม ข้างในใส่ไส้ มีทั้งไส้หวานและไส้เค็ม. (จ.)

เต้าเจี้ยว น. ถั่วเหลืองที่หมักเกลือสําหรับปรุงอาหาร. (จ.).

เต้าทึง น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง มีถั่วแดงกับลูกเดือยต้มแป้งกรอบลูกพลับแห้งเป็นต้น ใส่น้ำตาลต้มร้อนๆ (จ.).

เต้าส่วน น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งเปียกกวนกับถั่วเขียวที่เอาเปลือกออกแล้วราดนํ้า กะทิ. (จ.).

เต้าหู้ น. ถั่วเหลืองที่โม่เป็นแป้งแล้วทําเป็นแผ่น ๆ ใช้เป็นอาหาร มี ๒ ชนิด คือ เต้าหู้ขาว และเต้าหู้ เหลือง. (จ.).

เต้าหู้ยี้ น. อาหารเค็มของจีน ทําด้วยเต้าหู้ขาวหมัก. (จ.).

เต้าฮวย น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทําด้วยนํ้าถั่วเหลืองที่มีลักษณะแข็งตัว ปรุงด้วยนํ้าขิงต้มกับนํ้า ตาล. (จ.).

บ๊ะจ่าง น. ชื่ออาหารคาวของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนำมาผัดน้ำมัน มีไส้หมูเค็มหรือหมู พะโล้ กุนเชียง ไข่เค็มเฉพาะไข่แดง กุ้งแห้ง เห็ดหอม เป็นต้น ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ.).

บะหมี่ น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลี เป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเหลือง ลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่อง มีหมูเป็นต้น. (จ.).

เปาะเปี๊ยะ น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนําแป้งสาลีมาทําให้สุกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุง รสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะก็ได้ (จ.).

แป๊ะซะ น. ชื่ออาหารใช้ปลานึ่งจิ้มนํ้าส้มกินกับผัก. (จ.).

มี่สั้ว น. เส้นหมี่ขนาดเล็ก ๆ ทำด้วยแป้งสาลี ตากแห้งเก็บไว้ได้นาน. (จ.).

ฮ่อยจ๊อ น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อปู มันหมูแข็งต้มสุก ผสมกับแป้งมันและเครื่องปรุงรส บดหรือโขลกจนเหนียวแล้วห่อด้วยฟองเต้าหู้เป็นท่อน กลม ๆ ยาว ๆ มัดเป็นเปลาะ ๆ นึ่งแล้วทอดให้สุก กินกับน้ำจิ้ม. (จ.).

ฮื่อฉี่ น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้หูปลาฉลามตุ๋น. (จ. ฮื่อฉี่ ว่า ครีบปลา).

ฮื่อแซ น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ยำปลาดิบ ๆ ด้วยน้ำส้มและผัก. (จ. ฮื่อแซ ว่า ปลาดิบ)

ปาท่องโก๋ น. ของกินชนิดหนึ่งของจีน ทําด้วยแป้งข้าวเจ้ากับนํ้าตาลทราย รูปสี่เหลี่ยม เนื้อคล้ายขนมถ้วยฟู; ของกินชนิดหนึ่งของจีน ทําด้วยแป้งสาลีตัดเป็นท่อน ๆ แล้วจับเป็นคู่ติดกัน ทอดนํ้ามันให้พอง คนจีนเรียกว่าอิ้วจาก๊วย

หมวดของใช้

เกี้ยว น. คานหามของจีนชนิดหนึ่ง. (จ.).

เกี๊ยะ น. เกือกไม้แบบจีน. (จ.).

จับเจี๋ยว น. หม้อดินเล็ก ๆ มีพวยและที่จับสําหรับต้มนํ้า. (จ.).

เจ่ง,เจ้ง น. เครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง มีสายสําหรับดีด คล้ายจะเข้. (จ. ว่า เจ็ง).

ซึ้ง น. ภาชนะสำหรับนึ่งของ ทำด้วยโลหะมีลักษณะกลมคล้ายหม้อ ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ๒-๓ ชั้น
ชั้นล่างใส่น้ำสำหรับต้มให้ความร้อน ชั้นที่ซ้อนที่ก้นเจาะเป็นรู ๆ เพื่อให้ไอน้ำร้อนผ่านให้ของในชั้นที่ซ้อนสุก มีฝาครอบคล้ายฝาชี ลังถึง ก็ว่า. (จ. เล่งซึ้ง).

ตะหลิว น. เครื่องมือทำด้วยเหล็ก ใช้แซะหรือตักของที่ทอดหรือผัดในกระทะ. (เทียบ จ. เตี้ยะ ว่า กระทะ + หลิว ว่า เครื่องแซะ เครื่องตัก).

ตั๋ว น. บัตรบางอย่างที่แสดงสิทธิของผู้ใช้ เช่น ตั๋วรถ ตั๋วหนัง. (จ.).

ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคันที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้ม ถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย เต็ง ก็เรียก. (เทียบ  จ. เต็ง).

อั้งโล่ น. เตาไฟดินเผาชนิดหนึ่งของจีน ยกไปได้. (จ.).

เอี๊ยม น. แผ่นผ้าสําหรับคาดหน้าอกเด็กเล็ก ๆ. (จ.).

หากเพื่อนๆอยากเรียนภาษาจีนตั้งแต่เริ่มต้น เราขอแนะนำคอร์สภาษาจีนพื้นฐาน ซึ่งเป็นคอร์สที่ได้เรียนสดตัวต่อตัวกับเหล่าซือแบบออนไลน์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *